ระบบการประกันคุณภาพภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดทำเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์ระดับสำนัก สถาบัน ตามองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ และสำนักได้จัดทำเกณฑ์ ดังนี้รายละเอียดองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายในของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่  1.1     การบริหารของสำนัก/สถาบัน  เพื่อกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ

ชนิดตัวบ่งชี้   กระบวนการ

วงรอบการนับข้อมูล ปีงบประมาณ

คำอธิบายตัวบ่งชี้ สำนัก/สถาบัน  มีพันธกิจหลักที่สำคัญในการส่งเสริม  สนับสนุนให้คณะสามารถดำเนินการตามพันธกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น  สำนัก/สถาบัน  ต้องมีแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสำนัก/สถาบัน  ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบัน  ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร  การเงิน  ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา  เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

เกณฑ์มาตรฐาน

  1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT  โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ ของหน่วยงานและพัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้  และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์  และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารประจำสำนัก/สถาบันหรือคณะกรรมการบริหาร
  2. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยง

ที่เกิดจากภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน

  1. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10  ประการ
  2. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามระบบและกลไกที่เหมาะสม             และสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของหน่วยงานที่ได้ปรับให้มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานหน่วยงานตามปกติที่ประกอบด้วย  การควบคุมคุณภาพ  การตรวจสอบคุณภาพ  และการประเมินคุณภาพ
  3. กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารของหน่วยงาน
  4. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ  ตามประเด็นความรู้อย่างน้อย  1  ด้าน

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.2     ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ชนิดตัวบ่งชี้   ผลผลิต

วงรอบการนับข้อมูล ปีงบประมาณ

คำอธิบายตัวบ่งชี้ หน่วยงานสนับสนุนมีการดำเนินงานตามแผนการดำเนินการโครงการเพื่อบรรลุประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนด

เกณฑ์การประเมิน   โดยการแปลงค่าร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นคะแนนระหว่าง  0 – 5  และกำหนดให้คะแนนเต็ม  5  =  ร้อยละ  100

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.3     ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของหน่วยงาน

ชนิดตัวบ่งชี้   ผลผลิต

วงรอบการนับข้อมูล ปีการศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้ ในการดำเนินงานตามพันธกิจหลักและจุดเน้นของหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของหน่วยงาน  โดยเริ่มตั้งแต่ปัจจัยนำเข้าที่ได้มาตรฐาน มีกระบวนการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกฝ่ายและผลลัพธ์  คือ  ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ  ซึ่งสามารถสะท้อนถึงคุณภาพของผลการดำเนินงานของหน่วยงาน การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการอาจจะพิจารณาให้ครอบคลุมในประเด็นหลัก  ดังนี้

  1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ
  2. ความพึงพอใจด้านสถานที่/สิ่งอำนวยความสะดวก
  3. ความพึงพอใจด้านบุคลากร/เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
  4. ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ

องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามภารกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวบ่งชี้ที่  สวท.2.1  การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

ชนิดตัวบ่งชี้   กระบวนการ

วงรอบการนับข้อมูล ปีงบประมาณ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเกิดจากการคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ อย่างเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  รวมทั้งการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ  ได้แก่  การวิเคราะห์หมวดหมู่  การลงรายการ  การจัดเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ

ทรัพยากรสารสนเทศ  หมายถึง  สื่อสิ่งพิมพ์  (หนังสือ วารสาร  นิตยสาร)  สื่อโสตทัศน์  และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เพื่อการเรียนรู้ทุกประเภท

ครอบคลุม  หมายถึง  มีส่วนเกี่ยวข้องถึง  รวมถึง  รวมอยู่ด้วย

ตัวบ่งชี้ที่  สวท 2.2  การบริหารทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดให้เกิดประโยชน์

ชนิดตัวบ่งชี้   กระบวนการ

วงรอบการนับข้อมูล ปีงบประมาณ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารทรัพยากรสารสนเทศสู่ผู้ใช้บริการเป็นกิจกรรมหลักของห้องสมุด  เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด  รวมทั้งการพัฒนาให้ผู้ใช้บริการมีความรู้และทักษะในการแสวงหาและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง  ตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างมีคุณภาพ

 

ตัวบ่งชี้ที่  สวท.2.3  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

ชนิดตัวบ่งชี้   กระบวนการ

วงรอบการนับข้อมูล ปีงบประมาณ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจที่สอดรับกับนโยบายและการวางแผนระดับสถาบัน  เพื่อให้เป็นระบบที่สมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง      ทั้งภายในและภายนอก  เป็นระบบที่ใช้งานได้ทั้งเพื่อการบริหาร  การวางแผน  และการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ  เพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจทุกด้านของบุคลากร  เพื่อการติดตาม  ตรวจสอบ  และประเมินการดำเนินงาน  ตลอดจนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาสถาบัน  ทั้งนี้  ระบบดังกล่าวต้องมีความสะดวกในการใช้งานโดยประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้

office-banner
แผนยุทธศาสตร์
ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561 – 2565
lib-banner
แผนพัฒนาคุณภาพ
(Quality Improvement Plan)
ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561-2565
comnet-banner
แผนบริหารความเสี่ยง
ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565)
finance
แผนกลยุทธ์ทางการเงิน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
server
แผนระบบสารสนเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
staff-plan
กรอบอัตรากำลัง 4 ปี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561–2565 (ฉบับปรับปรุง ปีงบประมาณ พ.ศ.2562)
report
รายงานประจำปี
ระยะ 5 ปี พ.ศ.2561 – 2565
qa-ass
รายงานผลการประเมินตนเอง
(Self-Assessment Report)
ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565)
chart
สรุปผลความพึงพอใจ
ของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
knowledge
การจัดการความรู้
Knowledge Management
ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565)
practice
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
(พ.ศ.2561 – 2565)สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562)