ประชาสัมพันธ์, ภาพกิจกรรม, โครงการ

โครงการอบรมในหัวข้อ “การจัดการบรรณานุกรมและการอ้างอิงงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Mendeley” เพื่อสนับสนุนนักวิจัย และการจัดการเอกสารวิชาการอย่างเป็นระบบ

บทความโดย

47
15 พฤศจิกายน 2024
75 คน
ห้องประชุมหงส์พันธ์ อาคารนวัตปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
แชร์บทความนี้

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัด โครงการอบรมในหัวข้อ “การจัดการบรรณานุกรมและการอ้างอิงงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Mendeley” ณ ห้องประชุมหงส์พันธ์ อาคารนวัตปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์วิชชา ภัทรนิธิคุณากร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ฝ่ายบริหารจัดการ ทรัพย์สิน พัสดุและกองคลัง เป็นประธานในการเปิดโครงการอบรม และอาจารย์ ดร.ชาติวุฒิ ธนาจิรันธร รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้กล่าวรายงานในการอบรม

โครงการอบรมในหัวข้อ “การจัดการบรรณานุกรมและการอ้างอิงงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Mendeley”  ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอาจารย์สกรณ์ บุษบง อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะของบุคลากรในการใช้เครื่องมือ Mendeley ซึ่งจะช่วยให้การจัดการข้อมูลบรรณานุกรมและการอ้างอิงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพของผลงานวิจัย และส่งผลดีต่อการจัดอันดับ Webometric ในด้าน Openness ของมหาวิทยาลัย

Mendeley เป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดการบรรณานุกรมและการอ้างอิง ทั้งแบบออนไลน์ผ่าน Mendeley Web และออฟไลน์ผ่าน Mendeley Desktop โดยสามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม สร้างรายการอ้างอิงในเนื้อหา และบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถลากไฟล์ PDF เพื่อจัดเก็บในระบบ และโปรแกรมจะสกัดเมตาเดทาสำหรับการค้นหาในภายหลัง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์เน้นข้อความและเขียนโน้ตบนไฟล์ PDF พร้อมแบ่งปันข้อมูลให้สมาชิกกลุ่มเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นได้

การอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรสายสนับสนุนการวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นวิทยากรหลัก พร้อมให้คำปรึกษาและตอบข้อสงสัย ศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คาดหวังว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากร พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาสถาบันในระยะยาว ทั้งในด้านคุณภาพการศึกษาและชื่อเสียงในระดับสากล

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all)